วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนวทางการจัดระบบการเรียนการสอน

แนวทางการจัดระบบการเรียนการสอน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บชร.๑
(อนุมัติ ท้ายบันทึกข้อความ กกพ.บชร.๑ ที่ กห.๐๔๘๑.๖๑(กกพ.)/๑๕๑๓   ลง  ๙  ต.ค.๕๖)
---------------------------------------------------------------------
เพื่อเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของ ทบ. และ ทภ.๑ กำหนดให้มีการพัฒนายกระดับคุณวุฒิการศึกษา ของกำลังพลให้สูงขึ้น ๑ ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลทหารกองประจำการ (ตามแผนการพัฒนากำลังพล ทบ.ด้านการศึกษาปี ๒๕๕๕๒๕๕๙) จึงกำหนดแนวทางนี้ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บชร.๑ (กศน.บชร.๑) ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและตรงตามนโยบายของ ทบ.และ ทภ.๑  ดังนี้
         ๑. ผนวก ก  : แผนผังการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บชร.๑
         ๒. ผนวก ข  : แผนผังการปฏิบัติ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บชร.๑
         ๓. หน่วยรับผิดชอบหลัก : กกพ.บชร.๑ ควบคุมกำกับดูแลในภาพร่วมของ บชร.๑
        ๔. หน่วยจัดการศึกษา : พัน.ซบร.๒๑  ,พัน.สบร.๒๑  ,พัน.สพ.กระสุน ๒๑ ,ส่วนแยก บชร.๑ , ร้อย.บก.บชร.๑ ,ร้อย.ขส.รยบ.เบา บชร.๑ และ ชุดรักษาพยาบาลที่ ๑
         ๕. ผู้เข้ารับการศึกษา : กำลังพลนายทหาร/นายสิบ , ทหารกองประจำการ และทหารผลัดใหม่ ที่เข้ากองประจำการ ที่มีคุณวุฒิต่ำกว่า ม.๖
         ๖. การจัดตั้งกลุ่มการศึกษา
             ๖.๑ รายละเอียดการจัดตั้งกลุ่มการศึกษา (ข้อกำหนดจาก กศน.อ.เกาะจันทร์)
                   ๖.๑.๑ ครูประจำกลุ่ม ๑ คนสามารถสอนได้สองระดับชั้น เช่น มัธยมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ มัธยมศึกษาตอนต้นและประถมศึกษา
                   ๖.๑.๒ จำนวนนักศึกษาขั้นต่ำ ที่สามารถจัดกลุ่มการศึกษาได้ ซึ่งรวมสองระดับชั้นเข้าด้วยกันแล้วหรือระดับชั้นเดียวกัน  ได้จำนวนตั้งแต่ ๔๐ คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๕๐ คน
                   ๖.๑.๓ จำนวนนักศึกษาสูงสุด ที่สามารถจัดกลุ่มการศึกษาได้ ซึ่งรวมสองระดับชั้นเข้าด้วยกันแล้วหรือระดับชั้นเดียวกัน ได้จำนวนตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป                                                     
                     ๖.๑.๔ หากนักศึกษาไม่ถึง ๔๐ คน สามารถจัดกลุ่มได้กรณีพิเศษ เช่น ส่วนแยก บชร.๑ (แต่ต้องประสาน กศน.อ.เกาะจันทร์ ก่อน)
              ๖.๒ วิธีการจัดกลุ่มการศึกษา
                   ๖.๒.๑ หน่วยระดับกองพัน (พัน.ซบร.๒๑  , พัน.สบร.๒๑ และ พัน.สพ.กระสุน ๒๑)  เป็นหลักในการจัดกลุ่มก่อน พยายามเกลี่ยยอดให้พอดี หรือจัดกลุ่มการศึกษาในขั้นต่ำก่อน จำนวนยอดนักศึกษาทหารขาดเหลือ ให้ประสานกับหน่วยกองพันด้วยกันเป็นอันดับแรก
                   ๖.๒.๒ หน่วยระดับกองร้อย (ร้อย.บก.บชร.๑ ,ร้อย.ขส.รยบ.เบา บชร.๑ และชุดรักษาพยาบาลที่ ๑) จัดกลุ่มการศึกษาร่วมกัน พยายามเกลี่ยยอดให้พอดี  หรือจัดกลุ่มการศึกษาในขั้นต่ำก่อน จำนวนยอดนักศึกษาทหารขาดเหลือ ให้ประสานกับหน่วยกองพัน
                   ๖.๒.๓ นักศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนน้อยให้หน่วยจัดการศึกษาระดับกองพัน โอนให้ ร้อย.บก.บชร.๑ รับผิดชอบจัดกลุ่มชั้นประถมศึกษา
         ๗. สถานที่จัดการเรียนและการสอน
             ๗.๑ หน่วยระดับกองพัน (พัน.ซบร.๒๑ ,พัน.สบร.๒๑ และ พัน.สพ.กระสุน ๒๑) จัดให้มีห้องสำหรับการเรียนการสอน และชั้นวางสำหรับหนังสือที่จะใช้ประกอบการเรียน
             ๗.๒ ร้อย.บก.บชร.๑ ,ร้อย.ขส.รยบ.เบา บชร.๑ และ ชุดรักษาพยาบาลที่๑ จัดให้มีห้องสำหรับการเรียนการสอนโดยใช้อาคาร ร้อย.บก.บชร.๑  และจัดให้มีชั้นวางสำหรับหนังสือที่จะใช้ประกอบการเรียน
         ๘. ครูประจำกลุ่มการสอน (คุณวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป และผ่านการอบรมหลักสูตรครู กศน.)
             ๘.๑ หน่วยจัดการศึกษา สรรหากำลังพลในหน่วยเพื่อเป็นครูประจำกลุ่ม ซึ่งมีคุณสมบัติตาม  ที่ กศน. อ.เกาะจันทร์ กำหนด หากมีครูประจำกลุ่มไม่เพียงพอให้ประสาน กกพ.บชร.๑ เพื่อสรรหาครูประจำกลุ่มเพิ่มเติมให้
               ๘.๒ ครูประจำกลุ่มของหน่วยต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหา ด้วยการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยเหนือและ กศน.อ.เกาะจันทร์ โดยเน้นกำลังพลที่มีคุณภาพเป็นหลักภายในหน่วย
         ๙. หน้าที่ จนท.ประสานงาน
             ๙.๑ หน่วยจัดการศึกษา กำหนด จนท.ประสานงาน จำนวน ๒ นาย ได้แก่ นายทหารประสานงาน และ จนท.ประสานงาน ให้ชัดเจน หากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้  กกพ.บชร.๑ ทราบ (ใช้ จนท.จากสายงานด้านกำลังพลของหน่วย)
             ๙.๒ เมื่อทหารผลัดใหม่เข้ากองประจำการแล้ว ให้ จนท.ประสานงาน ทำการรับสมัครทหารใหม่ที่มีคุณวุฒิต่ำกว่า ม.๖ ให้สมัคร กศน.ทุกนาย  และติดต่อขอหมายเลขโทรศัพท์จากญาติของ พลทหาร ในการขอรับเอกสารในการสมัครเข้ารับการศึกษา
              ๙.๓ ประสานงานกับ กกพ.บชร.๑  หรือ  กศน.อ.เกาะจันทร์ เกี่ยวกับหลักฐานการสมัคร ,การลงทะเบียนเรียน,การขอจบการศึกษา หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ทันตามห้วงเวลา
          ๙.๔ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของทหารกองประจำการ ที่เข้ารับการศึกษาให้ครบทุกนาย เช่น หมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ,หมายเลขบัตรประชาชน ฯลฯ  รวมไปถึงจำนวนรายวิชาที่ทหารได้ลงทะเบียนเรียนไปแล้ว (ประสานกับครูประจำกลุ่ม) 
             ๙.๕ เป็นกรรมการคุมสอบเมื่อมีการสอบปลายภาคเรียน เพื่อกำกับดูแล , ตรวจสอบยอด     ผู้เข้าสอบและช่วยเหลืออำนวยความสะดวก แก่ทหารกองประจำการเมื่อมีปัญหา
         ๑๐. หน้าที่ครูประจำกลุ่มการสอน
               ๑๐.๑ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ กศน. และจัดหาตำราเรียนให้เพียงพอ
             ๑๐.๒ ดำเนินการด้านเอกสารหลักฐาน เช่น การลงทะเบียนเรียน/การขอรับการประเมิน,กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต,การเทียบโอนผลการเรียน,หลักฐานการจบหลักสูตร และเรื่องอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  
               ๑๐.๓ กำกับดูแลทหารกองประจำการเมื่อมีการสอบปลายภาค
         ๑๑. การรายงานผล : หน่วยจัดการศึกษา รายงานผลการจัดการเรียนการสอน ตามห้วงเวลาที่ กกพ.บชร.๑ กำหนด หรือประสานงานตามห้วงเวลา
         ๑๒. การดำเนินการ
              ๑๒.๑ การจัดทหารกองประจำการสนับสนุน ส่วนแยก บชร.๑ หน่วยจัดการศึกษาอาจจะพิจารณาทหารกองประจำการ ที่มีคุณวุฒิ ม.๖ ขึ้นไป สนับสนุนให้กับ ส่วนแยก บชร.๑  เพื่อลดปัญหาทางธุรการและการกำกับดูแลของหน่วย
               ๑๒.๒ ดำเนินการตามแนวทางนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                (ลงชื่อ) พ.อ.เรืองศักดิ์  อรรคทิมากูล
                                      ( เรืองศักดิ์  อรรคทิมากูล )
                                         เสธ.บชร.๑ / ผอ.กศน.บชร.๑  
                                              ๒๑ ต.ค.๕๖